ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา รวมถึงเนื้อหาหลักสูตรที่ครอบคลุมกว้างขวางที่สถาบันการศึกษาเหล่านี้มอบให้ ได้รับการยกย่องจากทั้งนักศึกษาและผู้จ้างงาน อีกเหตุผลหนึ่งที่สำคัญที่นักศึกษานานาชาติจำนวนมากต้องการเดินทางมาเรียน ที่สหรัฐอเมริกานั้นก็คือความหลากหลายของหลักสูตรที่เปิดสอน ตั้งแต่หลักสูตรที่เป็นวิชาการระดับสูง เช่น ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ไปจนถึงหลักสูตรที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างมาก เช่น ศิลปะและการกำกับภาพยนตร์ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิต ปัจจัยอันดับหนึ่งที่ช่วยในการตัดสินใจเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยในสหรัฐ อเมริกาก็คือ จำนวนเงินทุนที่ใช้ในการวิจัย สหรัฐอเมริกาได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่หนึ่งในด้านเงินทุนที่ใช้ เพื่อการวิจัย ตามมาด้วยสหราชอาณาจักรเป็นอันดับสอง วุฒิการศึกษาและประกาศนียบัตรที่ได้รับหลังจากสำเร็จการศึกษาที่วิทยาลัยและ มหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกาเป็นที่ยอมรับทั่วโลก โดยมีมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในอันดับสูงสุดจากการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยโลก คือ สถาบันการศึกษาในกลุ่ม Ivy League ซึ่ง เป็นสถาบันการศึกษาเอกชนแปดแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริการวม ถึงสถาบันการศึกษาระดับชั้นนำอื่นๆของสหรัฐอเมริกาอย่าง MIT, มหาวิทยาลัยแห่ง California และ Stanford เป็นต้น
หากคุณมีเป้าหมายที่จะศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา บริการสมัครเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย สามารถที่จะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายได้ นักศึกษาที่ใช้บริการนี้ของเราจะได้รับประโยชน์จากเครือข่ายอันกว้างขวางของสถาบันซึ่งเป็นพันธมิตรกับเรา และประสบการณ์อันยาวนานของเราในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนการรับเข้าศึกษาของมหาวิทยาลัย
ค่าใช้จ่ายในการเรียนต่ออเมริกา
ในการเรียนต่ออเมริกาคุณจะมีค่าใช้จ่ายหลักๆอยู่ 2 แบบ คือ ค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยค่าเล่าเรียนระหว่างมหาวิทยาลัยของรัฐ, มหาวิทยาลัยเอกชนและวิทยาลัยจะแตกต่างกัน มหาวิทยาลัยของเอกชนจะคิดค่าเล่าเรียนแพงที่สุด ในขณะที่วิทยาลัยวิชาชีพต่างๆจะคิดถูกที่สุด แต่ถึงจะแตกต่างกัน ก็ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าสถาบันการศึกษาไหนดีกว่ากัน
ส่วนค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันก็ขึ้นอยู่กับเมืองที่คุณเลือก โดยเมืองใหญ่, เมืองศูนย์กลางความเจริญ, เมืองแถบตะวันออกเฉียงเหนือ และแคลิฟอร์เนีย จะเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพสูงกว่าเมืองในแถบใต้, แถบตะวันตกรวมไปถึงเมืองอื่นๆ
ตัวช่วยเรื่องการเงิน
ถึงแม้ว่าสถาบันการศึกษาส่วนมากจะมีทุนการศึกษาและเงินช่วยเหลือสำหรับนักเรียนต่างชาติ แต่ว่าทุนเหล่านี้กลับมีการแข่งขันที่สูงอยู่ตลอดเวลา โดยทุนเหล่านี้จะมอบให้กับนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือนักเรียนที่มีผลการเรียนดีเด่นในแต่ละสาขา อย่าลืมตรวจสอบไปยังสถาบันการศึกษาที่คุณสนใจว่ามีทุนให้กับนักเรียนต่างชาติหรือไม่ และลองหาทุนการศึกษาอื่นๆจากรัฐบาลของไทย หน่วยงานและสถาบันการศึกษาอื่นๆด้วย
ทำงานพิเศษในอเมริกา
นักเรียนที่เข้าอเมริกาด้วยวีซ่า F-1 หรือ M-1 สามารถทำงานในมหาวิทยาลัยได้ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และเต็มเวลาระหว่างวันหยุด โดยงานในมหาวิทยาลัยรวมถึงการทำงานในห้องสมุด หรือ ในโรงอาหารด้วย
หลังจากเรียนไปแล้ว 1 ปี คุณสามารถยื่นใบสมัครขอเป็นพลเมืองชาวอเมริกันได้ ซึ่งทำให้คุณได้รับอนุญาตให้ทำงานนอกมหาวิทยาลัย โดยศูนย์ดูแลนักเรียนต่างชาติในมหาวิทยาลัยของคุณจะสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการสมัครให้คุณได้ และเมื่อคุณได้รับการอนุญาต คุณจะสามารถทำงานได้สัปดาห์ละ 20 ชั่วโมงและเต็มเวลาในระหว่างวันหยุดเช่นเดียวกัน
ผู้ที่สนใจ ศึกษาต่ออเมริกา ควรทราบถึงระบบการศึกษาซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
• แต่ละรัฐในอเมริกา มีอิสระในการควบคุมคุณภาพและวางแผนด้านการเรียนการสอนเอง โดยไม่ขึ้นกับรัฐบาลกลาง ทุกรัฐจะมีหน่วยงานด้านการศึกษา ในการคอยควบคุมและกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ
• การศึกษาภาคบังคับนั้น นักเรียนอเมริกาทุกคน (สัญชาติ อเมริกัน) จะได้รับสิทธิเรียนฟรี จนกระทั่งถึงเกรด 12 (Grade 12) หรือจบในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
• การเรียนในระดับอุดมศึกษานั้น หากนักศึกษาต้องการเรียนต่อในมหาวิทยาลัยในรัฐที่ตนเองไม่ได้มีถิ่นฐานอยู่แล้ว จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่เรียกว่า Out of States Tuition เพิ่มขึ้นมาด้วย
• หากนักเรียนต่างชาติ ต้องการ ศึกษาต่ออเมริกา ในระดับประถม และมัธยม จะถูกจำกัดสิทธิให้สมัครเรียนได้เพียงโรงเรียนเอกชน (Private School) เท่านั้น จะไม่สามารถเลือกเรียนในสังกัดโรงเรียนรัฐบาล (Public School) ได้ (อาจมีข้อยกเว้นสำหรับนักเรียนทุนหรือนักเรียนแลกเปลี่ยน (Exchange Visitor Program) ที่มา ศึกษาต่ออเมริกา โดยถือวีซ่า J-1 เท่านั้น)
การศึกษาในระดับต่าง ๆ
ระดับอนุบาล ( Kindergarten) kindergarten in usa
ใน สหรัฐอเมริกา การศึกษาระดับอนุบาล ไม่ใช่การศึกษาภาคบังคับ แต่เป็นการเรียนเพื่อปรับพื้นฐานในช่วงอายุ 3-6 ปีก่อนที่จะเริ่มเรียนอย่างจริงจังในระดับประถมศึกษา
ระดับประถมศึกษา (Primary School)
Primary-School-in-USA
เป็นการศึกษาภาคบังคับ สำหรับเด็กอายุ 6 – 11 ปี โดยมีระยะเวลาการศึกษา 6 ปี เริ่มเข้าเรียนที่ Grade 1 จนถึง Grade 6 (เทียบเท่ากับประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ในประเทศไทย) จึงจะสำเร็จการศึกษาในระดับนี้ (หมายเหตุ สำหรับนักเรียนต่างชาติที่สนใจ ศึกษาต่ออเมริกา ด้วยทุนส่วนตัวในระดับประถมศึกษา จะลงเรียนได้เฉพาะในสถาบันเอกชนเท่านั้น)
ระดับมัธยมศึกษา (Secondary School หรือ High School) High school education in USA
เป็นการศึกษาภาคบังคับ สำหรับเด็กอายุ 12 – 18 ปี โดยมีระยะเวลาการศึกษา 6 ปี โดยจะเริ่มเรียนที่ Grade 7 – 8 ซึ่งเรียกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (Junior High School) และต่อด้วย Grade 9 –12 เป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (Senior High School) โดยส่วนใหญ่แล้ว นักเรียนในสหรัฐอเมริกาจะเรียนต่อเนื่องจนกระทั่งจบการศึกษาในระดับนี้ที่อายุ 18 ปี (เทียบเท่า วุฒิ ม.6) (หมายเหตุ สำหรับนักเรียนต่างชาติที่สนใจ ศึกษาต่ออเมริกา ด้วยทุนส่วนตัวในระดับมัธยมศึกษา จะลงเรียนได้เฉพาะในสถาบันเอกชนเท่านั้น)
รายชื่อหมวดวิชาที่ต้องเรียนในระดับนี้
ภาษาอังกฤษ (English)
คณิตศาสตร์ (Math)
วิทยาศาสตร์ (Sciences)
สังคมศึกษา (Social Studies)
ภาษาต่างประเทศ (Foreign Languages)
พลศึกษา (Physical Education)
ศิลปะ (Art)
ดนตรี (Music)
Home Economics
Industrial Arts
ระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็น 4 ประเภท
1. วิทยาลัยแบบ 2 ปี หรือ วิทยาลัยชุมชน (Junior Colleges and Community Colleges) การศึกษาในระดับนี้ มี 2 ลักษณะ คือ แบบ Transfer Track และแบบ Terminal/Vocational Track
– Transfer Track เป็นหลักสูตรที่เป็นวิชาพื้นฐาน 2 ปีแรกของการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยจะต้องลงเรียน รายวิชาบังคับ (General Education Requirements) จากนั้นนักศึกษาสามารถ โอนหน่วยกิต (Transfer) ไปยังมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐหรือเอกชนเพื่อศึกษาต่อในระดับชั้นปีที่ 3 โดยที่เกรดเฉลี่ยที่นักศึกษาทำได้ในระหว่าง 2 ปีนี้ จะเป็นตัว กำหนดว่านักศึกษาจะได้รับการตอบรับ เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ที่ต้องการหรือไม่
– Terminal / Vocational Track เป็นหลักสูตรอนุปริญญาสายวิชาชีพ หลังจากที่เรียนจบในระยะเวลา 2 ปีแล้วนักศึกษาจะได้รับ วุฒิอนุปริญญา (Associate Degree) ทางสาขาวิชาที่เลือก
2. วิทยาลัย (Colleges) เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอนในสาขาวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรปริญญาตรี (4 ปี) และปริญญาโท ซึ่งหลังจากที่เรียนจบหลักสูตรแล้ว วุฒิบัตรที่ได้รับจะมีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่าปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยทุกประการ ไม่ว่าสถาบันนั้นจะเป็นของรัฐหรือเอกชนก็ตาม
3. มหาวิทยาลัย (University) เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาตรีขึ้นไป มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จะเปิดสอนจนถึงระดับปริญญาโท และเอกใน สาขาต่าง ๆ
4. สถาบันเทคโนโลยี (Institute of Technology) โดยส่วนใหญ่ มักจะมุ่งเน้น ที่การเรียนการสอนในสาขา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเป็นหลัก ซึ่งเปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี จนถึง ระดับปริญญาโท และเอก
ศึกษาต่ออเมริกา โดยเริ่มต้นจากโรงเรียนสอนภาษา
เรียนภาษาที่อเมริกา
ประเทศอเมริกา มีสถาบันสอนภาษาอังกฤษอยู่มากมาย มีทั้งโรงเรียนของรัฐบาลและของเอกชน หลักสูตรที่เปิดสอนโดยส่วนใหญ่เรียกว่า Intensive English Program ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เปิดสอนขึ้น เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาต่างชาติที่เดินทางมาศึกษาต่ออเมริกาหรือที่สถาบันของประเทศอื่นที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง นักศึกษาต่างชาติส่วนใหญ่มักจะเริ่มเรียนในหลักสูตรนี้
วีซ่าสำหรับ ศึกษาต่ออเมริกา
สำหรับนักเรียนไทยนั้น ไม่ว่าจะมาเรียนที่อเมริกาหลักสูตรอะไรก็ตาม จะต้องขอวีซ่าก่อน ไม่ว่าจะเป็น วีซ่าอเมริกาประเภท F-1 หรือ วีซ่านักเรียนF1 หรือหากเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ก็ต้องมี วีซ่านักเรียนประเภท J-1 ก่อน จึงจะสามารถเดินทางมาศึกษาต่อที่อเมริกาได้ ซึ่งสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วีซ่านักเรียนอเมริกา
ปีการศึกษา หรือ ภาคการศึกษา (Academic Year)
ในประเทศอเมริกา นั้น จะแบ่งปีการศึกษาออกเป็นหลายระบบ ระบบที่นิยมใช้มากที่สุด ก็คือระบบ Semester ซึ่งจะคล้ายกับระบบที่ใช้อยู่ในประเทศไทย ในระดับอุดมศึกษา
ระบบต่าง ๆ มีชื่อและรายละเอียด ดังนี้
1. ระบบ Semester ใน 1 ปีการศึกษา จะประกอบด้วย 2 Semesters ซึ่งยาวประมาณ Semester ละ 16 สัปดาห์ และ ภาคเรียนระยะสั้นในช่วง Summer เรียกว่า 1-2 Summer Sessions ซึ่งแต่ละช่วงมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
* Fall Semester เปิดเรียนประมาณปลายเดือนสิงหาคม – กลางเดือนธันวาคม
* Spring Semester เปิดเรียนประมาณต้นเดือนมกราคม – เดือนเมษายน
* Summer Session เปิดเรียนประมาณกลาง เดือนพฤษภาคม – เดือนสิงหาคม (บางครั้งช่วง Summer จะแบ่งครึ่ง เป็น 2 ช่วงสั้น ๆ )
2. ระบบ Trimester ใน 1 ปีการศึกษา จะประกอบด้วย 3 ภาคการศึกษา ดังนี้
* First Trimester เปิดเรียนประมาณ เดือนกันยายน – เดือนธันวาคม
* Second Trimester เปิดเรียนประมาณเดือนมกราคม – เดือนเมษายน
* Third Trimester เปิดเรียนประมาณ เดือนพฤษภาคม – เดือนสิงหาคม
3. ระบบ Quarter ใน 1 ปีการศึกษา จะประกอบด้วย 4 Quarter แต่ละ Quarter จะเปิดเรียนประมาณ 10 สัปดาห์ คือ
* Fall Quarter เปิดเรียนประมาณกลางเดือนกันยายน – เดือนธันวาคม
* Winter Quarter เปิดเรียนประมาณเดือนมกราคม – กลางเดือนมีนาคม
* Spring Quarter เปิดเรียนประมาณกลางต้นเดือนเมษายน – กลางเดือนมิถุนายน
* Summer Quarter เปิดเรียนประมาณกลางเดือนมิถุนายน – เดือนสิงหาคม
4. ระบบ 4-1-4 ใน 1 ปีการศึกษา จะประกอบด้วย 2 ภาคเรียนใหญ่ และคั่นกลางด้วยภาคเรียนสั้น ๆ 1 เดือน เพื่อให้นักศึกษาไป ค้นคว้าด้วยตนเอง หรือออก Field Trip ซึ่งภาคเรียน 1 เดือนนี้ มีชื่อเรียกว่า Interim ระบบ 4-1-4 นี้ เป็นระบบใหม่ที่มีใช้อยู่ในสถานศึกษาที่ อเมริกา ประมาณ 8% ซึ่งประกอบด้วย
* Fall Semester เปิดเรียนประมาณปลายเดือนสิงหาคม – เดือนธันวาคม
* Interim ช่วงเดือนมกราคม (1 เดือน)
* Spring Semester เปิดเรียนประมาณเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนพฤษภาคม
ข้อดีของการ ศึกษาต่ออเมริกา
• การศึกษาของ ประเทศอเมริกาอยู่ในระดับแนวหน้า ซึ่งประเทศต่าง ๆ ให้การยอมรับ อีกทั้งยังมีสถาบันที่มีชื่อเสียงมาก ยกตัวอย่าง เช่น Harvard University, MIT, Stanford University
• หลักสูตรมีให้เลือกเรียนหลากหลาย และมีสถาบันให้เลือกอย่างมากมาย
• ได้รับโอกาสการศึกษา โดยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นสื่อในการเรียนการสอน
• มีโอกาสได้เรียนรู้วัฒนธรรม เทคโนโลยี ของอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่มีความเจริญอันดันต้น ๆ ของโลก และแลกเปลี่ยนแนวความคิด เพื่อเป็นประสบการณ์ในการประยุกต์ใช้ในอนาคต
• สามารถเลือกรัฐที่อยากจะเรียนได้ตามความเหมาะสมของงบประมาณ ความชอบ และเหตุผลทางด้านภูมิอากาศ
• เปิดกว้างทางด้านความคิด ทำให้มีอิสระในการแสดงออก
• สถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ ได้รับการรับรองวิทยฐานะจากทาง ก.พ.
• ผู้มา ศึกษาต่ออเมริกา จนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาในสถาบันที่กำหนด สามารถขอสิทธิในการอาศัยอยู่ที่ อเมริกา ได้อีก 1 ปี เพื่อฝึกงาน หรือหาประสบการณ์การทำงาน
• การขอ วีซ่านักเรียนอเมริกา (วีซ่าF1) สำหรับนักเรียนไทย ไม่ยากจนเกินไป เพราะประเทศไทย และ อเมริกามีความสัมพันธ์อันดี มาเป็นระยะเวลานาน